12/26/2009

ใบงานที่ 12 การใช้โปรแกรม SPSS


สรุปผลการเรียนรู้วันที่ 26 ธันวาคม 2552
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ
[ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]
การใช้โปรแกรม SPSS

12/25/2009

ใบงานที่ 11

ความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับครูผู้สอนคลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ใบงานที่ 9

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...ผู้บริหารมืออาชีพ คือ ผู้บริหารที่มีความรู้ ความเข้าใจในสาระของงานอย่างแท้จริง สามารถบริหารงานได้ประสบความสำเร็จ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ ดังนั้น

ใบงานที่ 8

ใบงานที่ 8 การใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWSคลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

12/24/2009

การบริหารที่ประสบความสำเร็จ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

พฤติกรรมหรือคุณลักษณะพื้นฐาน 4 ประการ ของการบริหารจัดการที่ประสบความสำเร็จ

12/23/2009

ใบงานที่ 10


ใบงานที่ 10  ประวัติตนเอง

12/22/2009

ใบงานที่ 7

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
ใบงานที่ 7 การตกแต่งเวบบอร์ดให้สวยงามและน่าสนใจ

การสร้าง poll ในบล็อก

การสร้าง poll ในบล็อก)คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

12/16/2009

ใบงานที่ 6

ใบงานที่ 6 เสนอวิธีการใช้ http://www.google.co.th/Glitter กำลังใจ

12/12/2009

ใบงานที่4

ใบงานครั้งที่ 4
ให้นักศึกษาค้นหาและสังเคราะห์แนวคิดเป็นของตนเอง ซึ่งมีคำดังต่อไปนี้

สรุปความรู้วันที่ 28 พ.ย. 2552


สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าชั้นเรียนสัปดาห์ที่ 4
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2552
นางสาววันดี โต๊ะดำ รหัส 5246701075

12/05/2009

ใบงานที่ 2

งานชิ้นที่ 1 ให้นักศึกษาศึกษาข้อมูลจากสถานศึกษา
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนบ้านหัวหิน
สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 6 ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 2
ชื่อเรื่อง การจัดการนวัตกรรมและระบบสารสนเทศสำหรับสถานศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรม
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ Globalization มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้นการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลงการใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง กล่าวโดยสรุปนวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้
1. การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็วทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอบแบบใหม่ ๆที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
3. การเรียนรู้ของผุ้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้นตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted Instruction หรือ CAI การเรียนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคมมีส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดนนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Web-based learning" ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Any where,Any time for Everyone)การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวางในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้นแต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อนนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทบาทของนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดียวีดีโอออนดีมานด์ (Video-on-Demand) การประชุมทางไกล Teleconference) อี-เลินนิ่ง (e-learning) อี-เอ็ดดูเคชั่น (e-Education) เป็นต้น
การนำนวัตกรรมไปใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1.ด้านบริหารจัดการศึกษา ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลของนักเรียน บุคลากร การบริหารงานทั้ง 4 งานให้เป็นปัจจุบันและประมวลผลให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนในการวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป
2.ด้านการวิจัย การนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนเป็นการทำวิจัยที่อยู่ใกล้ตัวครูมากที่สุด เป็นการทำวิจัยปฏิบัติการ (action reserch) ที่ครูลงมือปฏิบัติเพื่อเกิดผลบวกกับนักเรียนเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางแก้ไขต่อไป นอกจากนั้นโปรแกรมต่างๆก็ยังช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยของครูอีกด้วย
3.การเรียนการสอน โดยใช้ CAI,E-learning เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนทำให้เรียนสนใจและตื่นเต้นกับบทเรียนนั้น ๆ และเป็นการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความพร้อมความสามารถของผู้เรียน
4. ด้านบริการสังคม สารสนเทศที่ใหม่ ทันสมัย เป็นสิ่งที่คอยอำนวยความสะดวกในการนำข้อมูล สถิติด้านต่าง ๆที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้บริการสังคมได้อย่างมั่นใจ สามารถนำมาประกอบการให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่สังคมได้ด้วยทั้งนี้ นวัตกรรมและสารสนเทศจะมีบทบาทมากน้อยเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะยอมรับนวัตกรรมนั้นๆแค่ใหน ถ้าหากลักษณะของบุคลากรในโรงเรียนยอมรับมาก ก็จะมีบทบาทมากแต่ถ้าบุคลากรในโรงเรียนเป็นกลุ่มที่ล้าหลัง ไม่ค่อยยอมรับนวัตกรรมใหม่ ๆ มันก็จะไม่มีบทบาทอะไรเลย
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการระบบสารสนเทศของสถานศึกษา
ระบบสารสนเทศของสถานศึกษา คือระบบสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในสถานศึกษา โดยการจัดเก็บข้อมูลเชิงรายการและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีโปรแกรมในการการประมวลผล ผลลัพธ์ที่ได้เป็นรายงานที่ใช้ในการจัดการ ได้แก่
1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพของสถานศึกษา สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความต้องการของชุมชน สภาพการบริหารและแนวทางการจัดการศึกษาตามโครงสร้างและภารกิจ เช่น ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา ศักยภาพของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น แนวทางการจัดการศึกษา การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา
2) ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน
3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผลการเรียน การพัฒนากิจกรรมแนะแนว การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การวิจัยในชั้นเรียน
4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับสภาพการบริหารและการจัดการ สภาพและบรรยากาศการเรียนรู้ ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาวิชาชีพ สุขภาพอนามัย การจัดการแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาวิชาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศไม่ได้เพียงหมายความถึงเพียงระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจองค์ประกอบของระบบ 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลสารสนเทศ องค์การและการจัดการ รวมทั้งเทคโนโลยีและอุปกรณ์ด้วย
1. ข้อมูลสารสนเทศ ได้แก่
1.1 ข้อมูลรายละเอียด ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการระดับย่อย ระเบียบข้อบังคับ ต่างๆ เช่น การจัดซื้อหนังสือ ตำรา วารสาร เป็นต้น
1.2 ข้อมูลสรุป ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลดิบมาวิเคราะห์สังเคราะห์ เพื่อดูแนวโน้มทิศทาง เช่น วารสารบางฉบับมีปัญหาไม่มีความเคลื่อนไหว ยืม-คืน ผู้บริหารจะต้องหาทางแก้ไขจัดการ
1.3 ข้อมูลพิเศษ เช่นการรายข้อมูลเฉพาะที่ต้องการ อาจเป็นการรายงานการยืม-คืน หนังสือ ความต้องการในการใช้วารสารของผู้ใช้บริการ หนังสือ ตำรา หรือวารสารที่มีความถี่ในการใช้งาน ต่ำหรือสูง
2. องค์กรและการบริหารจัดการ โดยทั่วต้องประกอบด้วยบุคลากร โครงสร้างการบริหารงานองค์กร เพื่อแบ่งแยกหน้าที่ที่ชัดเจนตามภาระงานต่างๆ เช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายพัสดุ ฝ่ายบุคคล ฝ่ายบริการ ฝ่ายผลิต ฝ่ายซ่อมบำรุง เป็นต้น โดยอาศัยโครงสร้างเป็นแกนกลางในการปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนสายงาน
3. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการ ซึ่งรวมถึง ซอฟท์แวร์โปรแกรม ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ระบบเครือข่ายและการสื่อสาร ที่เชื่อมโยงระบบเหล่านี้เข้าด้วยกัน เพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
วิสัยทัศน์
บูรณาการเทคโนโลยีอย่างมีระบบ ครบถ้วนก้าวล้ำนวัตกรรม นำสู่ระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ

ยุทธศาสตร์

ปฏิรูปการบริหารจัดการและการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการศึกษาของโรงเรียนบรรลุตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
บริบทของสถานศึกษา
สภาพทั่วไป
โรงเรียนบ้านหัวหิน ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 2 โรงเรียนบ้านหัวหิน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 7 ไร่ 27 ตารางวา เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านหัวหินจัดตั้งขึ้นเนื่องจากเด็กในท้องถิ่นต้องเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนบ้านพรุจูด และโรงเรียนบ้านดุหุน ซึ่งเป็นระยะทางไกล และต้องข้ามแม่น้ำทำให้ลำบากมาก จึงได้มีบุคคลคนหนึ่ง คือ นายเกลื่อม ดำมีศรี ได้ชวนสมัครพรรคพวกจัดสร้างโรงเรียนขึ้น ณ ที่นี้ ซึ่งเป็นที่ดินป่าช้าเก่า และที่ดินของ นายมาศ คนเที่ยง ได้ร่วมกันคิดอีกจึงเป็นอันตกลงได้ สร้างโรงเรียนขึ้นมา แต่ยังไม่สำเร็จยังขาดฝากั้น จึงได้มีคณะนักศึกษาอาสาพัฒนาจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาสร้างอาคารให้เป็นอาคารถาวร แบบ ป 1ก. จำนวน 3 ห้องเรียน ได้รับเงินสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธาหลายฝ่าย เป็นเงินค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 80,000 บาท โดยไม่มีงบประมาณของทางราชการ อาคารหลังนี้ได้สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือของหลายฝ่าย คือ คณะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เยาวชนอาสาสมัคร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน การจัดสร้างอาคารเรียนนี้ ได้มีบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญคือ นายมาศ คนเที่ยง ได้บริจาค ที่ดิน 6 ไร่เศษ คิดเป็นเงิน 4,000 บาท นายประสิทธิ์ คงมีสุข นายประกิต รัตตมณี และนายรื่น มากนคร ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่สำคัญยิ่งในการจัดตั้งโรงเรียน โรงเรียนได้เปิดทำการเรียนการสอน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2515 เวลา 10.00 น. ตรงกับขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด ในการเปิดเรียนนั้น มีเด็กเข้าศึกษาเล่าเรียน ทั้งที่เกณฑ์เข้าใหม่ และย้ายมาจากโรงเรียนอื่น ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 รวมทั้งสิ้น 34 คน มีนายมางก์ ศรีสมัย เป็นครูใหญ่และเป็นครูเพียงคนเดียวในโรงเรียน ปัจจุบันโรงเรียนบ้านหัวหินจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับประถมศึกษา
วิสัยทัศน์ (VISION)
นักเรียนมีคุณภาพตามวัย ก้าวไกลทางวิชาการ สถานศึกษาน่าอยู่ พัฒนาคู่ชุมชน
บุคลากรทุกคนพัฒนาตนสู่มืออาชีพ
พันธกิจ ( MISSION)
1. จัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัยและผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
2. พัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา โดยความร่วมมือของชุมชน
3. เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้
คำขวัญ
“ประพฤติดี มีวินัย ใฝ่ศึกษา”

โครงสร้างการบริหารงาน
โรงเรียนบ้านหัวหินจัดโครงสร้างการบริหารงาน โดยแบ่งออกเป็น 4 งาน ได้แก่ งานบริหารทั่วไป งานบริหารบุคลากร งานบริหารงบประมาณและงานวิชาการ โดยได้มีการแต่งตั้งให้ครูรับผิดชอบทุกงาน นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ร่วมกำหนดแผนพัฒนาโรงเรียน ดังแผนภูมิ

สภาพชุมชนโดยรวม
1) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นพื้นราบ โรงเรียนมีเขตบริการประกอบด้วย 2 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 6, 8 ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ชุมชนในเขตบริการอยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ หาดหัวหิน และหาดคลองสน ซึ่งมีทัศนียภาพที่สวยงาม ชายหาดและน้ำสะอาด
2) ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมง และรับจ้าง ฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนโดยรวมอยู่ในระดับยากจน
3) ประชากรส่วนใหญ่ในเขตบริการ นับถือศาสนา 2 ศาสนา ดังนี้ ศาสนาพุทธ จำนวน 62 ครอบครัว ศาสนาอิสลาม จำนวน 165 ครอบครัว ศาสนสถาน มีมัสยิด 1 แห่ง
4) ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6
5) โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน โรงเรียนบ้านหัวหินประกอบด้วยเขตบริการ 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 6, 8 ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ชุมชนในเขตบริการอยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน มีแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญคือ ป่าชายเลน มัสยิด แหล่งผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (จักสานเตยปาหนัน) ยังไม่ได้พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เป็นระบบ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้โดยสภาพจริง ผู้ปกครองและชุมชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นอย่างดี
ข้อจำกัดของโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนอยู่ติดกับชายฝั่งทะเลทำให้สาธารณูปโภคบางอย่างไม่สะดวก เช่น น้ำประปา โทรศัพท์ซึ่งสัญญาณไม่ดีทำให้การเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ตของนักเรียนขาดความคล่องตัว นอกจากนั้นแล้วขาดครูผู้สอนในวิชาเอกเฉพาะ เช่น ภาษาอังกฤษ ศิลปะ คณิตศาสตร์ และภาษาไทย
โครงสร้างหลักสูตร
โรงเรียนบ้านหัวหิน จัดสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ได้ดำเนินการสอนทั้งสองช่วงชั้น ได้แก่ ช่วงชั้นที่1 (ป.1 - ป.3) และช่วงชั้นที่สอง (ป.4 - ป.6) โครงสร้างหลักสูตร ดังนี้


ข้อมูลนักเรียน
ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านหัวหิน ได้จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 135 คน (ข้อมูล 10 มิถุนายน 2552) มีรายละเอียดดังนี้

ข้อมูลบุคลากร
รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหาร ครู และบุคลากร มีดังนี้
1. ผู้บริหาร ชื่อ นายมางก์ ศรีสมัย วุฒิทางการศึกษาสูงสุด ปริญญาตรี สาขา การบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน
2. จำนวนบุคลากรในโรงเรียน มีรายละเอียดดังตาราง (ข้อมูล 10 พฤศจิกายน 2552)

3. ครูสอนวิชาตรงตามวิชาเอก จำนวน 3 คน (คิดเป็นร้อยละ 37.50)
ครูสอนวิชาตรงความถนัด จำนวน 5 คน (คิดเป็นร้อยละ 62.50)
ข้อมูลทรัพยากร
โรงเรียนมีอาคารสถานที่เพื่อดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาดังนี้
 อาคารเรียน จำนวน 3 หลัง 8 ห้องเรียน
 อาคารประกอบ จำนวน 5 หลัง ได้แก่
- อาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง
- ห้องน้ำห้องส้วม 1 หลัง (4 ที่)
- ที่ปัสสาวะชาย 1 ที่
- ศูนย์วิชาการ 1 หลัง
- ห้องพยาบาล 1 ห้อง
- ห้องสหกรณ์ 1 ห้อง
 สถานที่จัดกิจกรรม
- สนามเด็กเล่น
- สนามกีฬา ได้แก่ สนามฟุตบอล สนามวอลเลย์บอล และสนามเซปัคตะกร้อ
- แปลงปลูกผักสวนครัว
- แปลงเตยปาหนัน
- เรือนเพาะชำ
- เตาเผาขยะ
- แปลงสมุนไพร
- สวนคณิตศาสตร์
ข้อมูลด้านแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ปราชญ์ชาวบ้าน / ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ผู้ทรงคุณวุฒิที่สถานศึกษาเชิญมาให้ความรู้แก่ครูและนักเรียน ในปีการศึกษานี้ ได้แก่
1. นางบุหลัน หยีหาสัน ให้ความรู้เรื่องการจักสานเตยปาหนัน
2. นางนุชรี รักสะอาด ให้ความรู้เรื่องการจักสานเตยปาหนัน
3. นางบุอะ หยีหาสัน ให้ความรู้เรื่องการจักสานเตยปาหนัน
4. นายดำ หยีหาสัน ให้ความรู้เรื่องการดูแล การตัดเตยปาหนัน
5. นายเพิง รำภา ให้ความรู้เรื่องดนตรีของลิเกป่า
6. นางอนงค์ ช่วยทุกข์เพื่อน ให้ความรู้เรื่องการร่ายรำและการขับบทละครผู้หญิงของ
ลิเกป่า
7. นางเพี้ยน พูลผล ให้ความรู้เรื่องการขับบทละครผู้ชาย ตัวแสดงชายของลิเกป่า

สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
1. ปัญหาการจัดระบบสารสนเทศในโรงเรียนมีข้อมูลสารสนเทศไม่เพียงพอหรือให้ข้อมูลไม่ทันต่อการใช้งาน และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดระบบสารสนเทศ
2. ปัญหาขาดบุคลากรทำหน้าที่จัดระบบสารสนเทศโดยเฉพาะ งบประมาณด้านวัสดุครุภัณฑ์ในการจัดซื้ออุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศไม่เพียงพอ เทคโนโลยีสื่อสารส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์และไม่มีเครือข่ายข้อมูลสำหรับเชื่อมโยงการใช้ข้อมูลสารสนเทศภายในโรงเรียน การใช้ข้อมูลทาง internet ส่วนใหญ่มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศในการวางแผนและการตัดสินใจในงานวิชาการ ปัญหาที่สำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ขาดงบประมาณและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ขาดวัสดุอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นว่า มีความต้องการสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างมาก
3. บุคลากรในโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นครูสายปฏิบัติการสอน มีความรู้เฉพาะในเนื้อหาที่ตนสอน ไม่เคยผ่านการอบรมในด้านเทคนิคและวิธีวิเคราะห์ระบบสารสนเทศมาก่อน เมื่อผู้บริหารต้องการเก็บข้อมูลก็มอบหมายให้ครู-อาจารย์ดังกล่าวดำเนินการ จึงทำให้ผลปฏิบัติงานไม่ดีเท่าที่ควร สารสนเทศที่ผลิตได้จากระบบไม่สนองวัตถุประสงค์ของโรงเรียน


นางสาววันดี โต๊ะดำ (ผู้ให้ข้อมูล)

11/28/2009

เสวนาผู้บริหารมืออาชีพ

เสวนาผู้บริหารมืออาชีพ
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ณ ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
ผู้ร่วมเสวนา
1. ผอ. กรีฑา วีระพงศ์ ผู้ำอำนวยการโรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา
2. ผอ. ประพงศ์ ชูตรัง
3. ผศ. ตรีพล เจาะจิตต์
4. ผอ. ณรงค์ สุทธิภักดี
5. ผอ. ประวันชัย เต็งทอง
ประเด็นแรก คุณลักษณะที่จำเป็นของผู้บริหารมืออาชีพ
ตามความเห็นของท่านผอ.ตรีพล มีความเห็นว่า ผู้บริหารมืออาชีพ ต้องเก่ง 3 ประการ ได้แก่
1. เก่ง
2. บริหารบุคลากรเก่ง
3. ยึดหลักธรรมาภิบาล
ตามความเห็นของผอ.กรีฑา มีความเห็นว่า จุดหมายของชีวิตคือ พัฒนาคุณสมบัติของตนเองให้เป็นคุณสมบัติของตนเองให้เป็นคุณสมบัติที่ดี
ผู้บริหารต้องเป็นจอมยุทธ มีหลักการบริหารจัดการแบบโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล
ตามความคิดเป็นของ ผอ. วันชัย มีความเห็นว่า ผู้บริหารมืออาชีพต้องมี
1. มีภูมิ คือ * ภูมิรู้ ได้แก่ ต้องรู้จริง รู้ลึก รู้กว้าง (บางอย่างรู้แล้วต้องนิ่ง บางอย่างรู้แล้วต้องขยายผล)
รู้อย่างมืออาชีพ คือต้องรู้จากบนลงล่าง
รู้หลักการบริหารจัดการที่ดี
และต้องมีความสามารถพิเศษรอบด้าน
* ภูมิธรรม ต้องมีคุณธรรมประจำใจ มีหลักคิด หลักคุณธรรมประจำตน เพื่อ ครองตน ครองคน ครองงาน
* ภูมิฐาน บุคลกิดี
คำคม มาดต้องตา วาจาต้องใจ ภายในยอดเยี่ยม เปี่ยมใจก่อนจาก
ตามความเห็นของ ผอ.ณรงค์ ให้ความเห็นว่า ผู้บริหารมืออาชีพ ต้องทบทวนตนเอง "รู้สึก นึก คิด"
รู้สึก คือ การเตือนสติ ว่าปัจจุบันทำอะไร
นึก คือ ว่าทำอะไรผิดพลาดบ้าง
ผิด คือ จำทำอเะไรต่อไปข้างหน้า
ดังคำกล่าวของขงจื้อ ศึกษาแล้วไม่ได้คิดเสียเวลาเปล่า คิดโดยไม่ได้เรียนน่ากลัวกว่า
ผู้บริหารต้องบริหารคน ดังนั้น "คน" ผู้บริหารมืออาชีพต้องเป็น "คน" ดังนี้

11/27/2009

สรุปความรู้วันที่ 21 พ.ย. 2552

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าชั้นเรียนสัปดาห์ที่ 3
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2552
นางสาววันดี โต๊ะดำ รหัส 5246701075
แนวคิดและกลยุทธ์ในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
1. บรรลุเป้าหมายของงาน
2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
1. การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
2. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
3. การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
4. การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
5. การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้
6. การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness ได้แก่
- การสนองตอบ (Responsiveness)
- การมีนวัตกรรม (Innovation)
- ขีดความสามารถ (Competency)
- ประสิทธิภาพ (Efficiency)
บทบาทใหม่ของการบริหารทุนมนุษย์
การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ต่างจากการบริหารทรัพยากรบุคคล ตรงที่เน้นความสำคัญของคุณค่าหรือมูลค่าของคนและสิ่งที่คนในองค์กรผลิตหรือสร้างขึ้นมา แต่ไม่ได้เน้นหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบของกระบวนวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล (Imeact of People Management Practice) และความทุ่มเทพยายามของคนต่อความสำเร็จขององค์กร มืออาชีพหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลหมดความสำคัญ และอาจจะไม่จำเป็นต้องทำไป แต่อย่างไรหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่ต้องทำอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และต้องมีการปรับบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลเสียใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งมีแนวคิดดังนี้
1. การสร้างขีดความสามารถเชิงกลยุทธ์ให้กับองค์กร (Build Strategic capability)
2. ขีดความสามารถในการสร้างคุณค่าจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ในองค์กร (The capacity to create value based on intangible assets of the firm)
3. ทุนมนุษย์ ทุนโครงสร้าง ทุนความสัมพันธ์
4. สินทรัพย์ซึ่งจับต้องไม่ได้ เป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร (It is intangible assets that will make the difference in which firms succeed and which fail.)
5. ขีดความสามารถเชิงกลยุทธ์ คือ ความพร้อมในปัจจุบันและความสามารถในการปรับตัวในอนาคต (Strategic capability is a readiness for the present and an ability to adapt in the future)
ทุนมนุษย์ หมายถึง องค์ประกอบโดยรวมของความรู้ ทักษะ ค่านิยมและประสบการณ์ซึ่งจัดเป็นสมรรถนะและขีดความสามารถของกำลังคนในองค์กรนั้นๆ (The combined knowledge, skills, values and experience of a company employees – the collective competence and capabilities of a firm’s employees.) ดังนั้นในการบริหารทุนมนุษย์จะเกี่ยวข้องกับบุคคล เหล่านี้ ได้แก่
- ผู้ดูแลทุนมนุษย์ Human Capital Steward
- ผู้อำนวยความรู้ Knowledge Facilitator
- ผู้ประสานสัมพันธ์ Relationship Builder
- มืออาชีพที่ฉับไว Rapid Deployment Specialist
ข้อมูล DATA
- ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินผล
- กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
สารสนเทศ (Information )
- ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
- ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมาย
ความรู้ (Knowledge)
ผลการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบ สร้างเป็นองค์ความรู้
โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
ความเฉลียวฉลาด (Wisdom) การนำเอาความรู้ต่างๆมาบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่างๆ
เชาว์ปัญญา (Intilligent) ผลการปรับแต่งและความจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไว
การเรียนรู้เกิดจากการปฏิบัติ ดังเช่นโมเดลปลาทู KS เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ KM
การจัดการความรู้
การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลัก ๆ ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหา ความรู้ใหม่ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ สุดท้ายคือ การเรียนรู้ และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร เครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. เครื่องมือที่ช่วยในการ “เข้าถึง” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Explicit
2. เครื่องมือที่ช่วยในการ “ถ่ายทอด “ ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Tacit ซึ่งต้องอาศัยการถ่ายทอด โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลัก
ในบรรดาเครื่องมือดังกล่าวที่มีผู้นิยมใช้กันมากประเภทหนึ่งคือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือชุมชน นักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP)
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
หัวใจของการจัดการความรู้
มีผู้รู้ได้กล่าวถึง KM หลายแง่หลายมุมที่อาจรวบรวมมาชี้ธงคำตอบว่า หัวใจของ KM อยู่ที่ไหนได้ โดยอาจกล่าวเป็นลำดับขั้นหัวใจของ KM เหมือนกับลำดับขั้นของความต้องการ ( Hierarchy of needs ) ของ Mcgregor ได้ โดยเริ่มจากข้อสมมุติฐานแรกที่เป็นสากลที่ยอมรับทั่วไปว่าความรู้คือพลัง (DOPA KM Team)
1. Knowledge is Power : ความรู้คือพลัง
2. Successful knowledge transfer involves neither computers nor documents but rather in interactions between people. (Thomas H Davenport) : ความสำเร็จของการถ่ายทอดความรู้ไม่ใช่อยู่ที่คอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่อยู่ที่การมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างคนด้วยกัน
3. The great end of knowledge is not knowledge but action : จุดหมายปลายทางสำคัญ ของความรู้มิใช่ที่ตัวความรู้ แต่อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ
4. Now the definition of a manager is somebody who makes knowledge productive : นิยามใหม่ของผู้จัดการ คือ ผู้ซึ่งทำให้ความรู้ผลิตดอก
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้
1. Capture การจัดการความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
2. Analysis วิเคราะห์ความรู้สึกที่จับได้
3. Validation การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้
4. Modelling การสังเคราะห์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
การสร้างความรู้ Knowledge Creation (SEC) (อธิบายด้วยโมเดลน้ำแข็ง) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge Sharing)
การจัดการความรู้โดยใช้โมเดลปลาทู
"โมเดลปลาทู" เป็นโมเดลที่เปรียบการจัดการความรู้เป็น 3 ส่วนคือ
หัวปลา (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางการจัดการความรู้ โดยจะต้องเป็นส่วนของผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “ คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “ คุณเอื้อ” และ “ คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ
ตัวปลา (Knowledge Sharing-KS) หมายถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “ คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “ คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “ คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
หางปลา (Knowledge Assets-KA) หมายถึง ส่วนของคลังความรู้ หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป

CoP(Community of Practice)
ชุมชนนักปฏิบัติ คือ อะไร
คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้
• ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน
• มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน
• มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น
• วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน
• มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน
• มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้
• มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี
• มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย
• มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง
• มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคม
ทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด ชุมชนนักปฏิบัติ คือ คนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร และอาจจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกับผู้นำองค์กร ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติ
อุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ไม่พูด ไม่คุย
- ไม่เปิด ไม่รับ
- ไม่ปรับ ไม่เรียน
- ไม่เพียร ไม่ทำ
คลังความรู้ (Knowledge Assets) ประกอบด้วย 3 ส่วน
1.เรื่องเล่าหรือคำพูดที่เร้าใจ + 2. การถอดบทเรียนที่ได้ + 3. แหล่งข้อมูลบุคคลอ้างอิง
(Tacit Knowledge) (Explicit Knowledge) (References)
ข้อควรระวังในการทำ KS
- ให้ share "เรื่องเล่า" ไม่ใช่ share "ความคิด"
- เป็น Storytelling ไม่ใช่ Problem-solving ไม่ใช่ Planning
- share แล้วต้อง Learn Learn แล้วต้อง Lead (นำ)
...นำสู่การกระทำ
...นำสู่ภาพที่ต้องการ
แหล่งที่มา
การบรรยายในชั้นเรียนของ อาจารย์อภิชาต
http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html
http://www.suanprung.go.th/km/tuna.htm

11/26/2009

ใบงานครั้งที่ 1

นักศึกษาฟังการบรรยายของอาจารย์ครั้งที่ 1 ให้นักศึกษาสรุปความหมายและความสำคัญพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในสถานศึกษา
• (1) การจัดการ/การบริหาร •(2) นวัตกรรม • (3) เทคโนโลยีการศึกษา
• (4) ข้อมูล • (5) สารสนเทศ • (6) ระบบสารสนเทศ •(7) ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
• (8) การสื่อสาร • (9) เครือข่าย • (10) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
• (11) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
ให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเว็ปบล็อก ใน Google.co.th

1. การจัดการ/การบริหาร
คำว่า “การจัดการ” (Management) จะเน้นการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่วางไว้) ซึ่งนิยมใช้ในการจัดการธุรกิจ (Business management)
คำว่า “การบริหาร” (Administration) จะใช้ในการบริหารระดับสูง โดยเน้นที่การกำหนดนโยบายที่สำคัญและการกำหนดแผนของผู้บริหารระดับสูง เป็นคำนิยมใช้ในการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) หรือใช้ในหน่วยงานราชการ
การบริหารจัดการ (Management) หมายถึงชุดของหน้าที่ต่างๆ (A set of functions) ที่กำหนดทิศทางในการใช้ทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กร การบริหารจัดการ หมายถึง กระบวนการของการมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กรจากการทำงานร่วมกัน โดยใช้บุคคลและทรัพยากรอื่นๆ หรือเป็นกระบวนการออกแบบและรักษาสภาพแวดล้อมที่บุคคลทำงานร่วมกันในกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการจึงเป็นกระบวนการของกิจกรรมที่ต่อเนื่องและประสานงานกัน ซึ่งผู้บริหารต้องเข้ามาช่วยเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร อาทิเช่น การบริหารจัดการศึกษาภายในโรงเรียน ซึ่งได้แบ่งการบริหารจัดการออกเป็น 4 ฝ่าย ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานฝ่ายงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป เป็นต้น
2. นวัตกรรม
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา
“นวัตกรรม” เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยมาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดี
นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆโดยยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เช่น เทคนิคการบริหารแบบต่างๆ เช่น การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม การบริหารจัดการเชิงระบบ การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน TopStar เป็นต้น เทคนิค/วิธีการสอนใหม่ๆ เช่น การสอนแบบบูรณาการ การสอนแบบโครงงาน เทคนิคการสอนคิดแบบหมวกหกใบ ฯลฯ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ฯลฯ
"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เป็นต้น
3. เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยี (Technology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Tech = Art ในภาษาอังกฤษ
Logos = A study of
ดังนั้น Technology = A study of art
เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและปฏิบัติงานทางด้านการศึกษาอย่างเป็นระบบ เช่นโสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิค เป็นต้น
4. ข้อมูล
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของตัวเลข ภาพ ตัวอักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น คะแนนสอบวิชาต่างๆ จำนวนครู จำนวนหนังสือ อัตราเงินเดือน จำนวนนักเรียนในโรงเรียน จำนวนครู ที่มีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถเอามาใช้ประโยชน์ได้
5. สารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลด้วยวิธีการต่าง ๆเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย โดยเก็บรวบรวมไว้ ในรูปที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามความต้องการ เช่น ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนชั้นป.6 จากสทศ. หรือภาวะโภชนาการต่ำ-ปกติของนักเรียนเป็นต้น
6. ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กรทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้
7. ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง แนวทาง วิธีการ กระบวนการประมวลผลข้อมูลที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข้อมูลที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการเรียนการสอน
8. การสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication) เป็นคำที่รากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า "communius" หมายถึง "พร้อมกัน" หรือ "ร่วมกัน" (common) หมายความว่า เมื่อมีการสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้น คนเราพยายามที่จะสร้าง "ความพร้อมกันหรือความร่วมกัน" ทางด้านความคิดเรื่องราวเหตุการณ์ ทัศนคติ ฯลฯ กับบุคคลที่เรากำลังสื่อสารด้วยนั้น
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ การคิด (Ideating) การรับเข้า (Encoding) การถ่ายทอด (Transmitting) การรับ (Receiving) การส่งออก (Decoding) การปฏิบัติ (Acting)
9. เครือข่าย
เครือข่าย (network) หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารชนิดต่าง ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันในเครือข่ายได้ ตัวอย่างของเครือข่ายที่เราคุ้นเคย ได้แก่ เครือข่ายของโทรศัพท์ เครือข่ายดาวเทียม เครือข่ายวิทยุ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยช่องทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน เรียกว่า ช่องสัญญาณ (communication channel)
ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
- เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
- เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
- เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
- เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย
10. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ข่าวสาร ภาพ ตัวเลข ซึ่งนำมารวบรวมเข้าด้วยกัน และนำไปเผยแพร่ในรูปต่างๆ
11. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร

*******************************************
แหล่งที่มา
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=lean-357&date=18-08-2007&group=1&gblog=2
http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=40.0
http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01004.asp
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech02/08/2/webit/p3.html
http://blog.eduzones.com/dena/4892
http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/212300/communication2.html
http://onzonde.multiply.com/journal/item/91/91
*******************************************
เกร็ดความรู้
Google ใช้ประโยชน์อะไรบ้าง
1. Google คิดเลขได้ เช่น 25+36= แล้วกด Enter (ได้ทั้ง + - * (คู ณ) / (หาร) )
2. Google คิดเลขยกกำลังได้ เช่น 2^3 เช่นเราอยากรู้ว่า 2 กำลัง 3 ได้เท่ากับเท่าไหร่ พิมพ์ 2 ตามด้วย "^"แล้วก็ 3
3. Google แปลภาษาได้ เพียงแค่ กด "แปลภาษา" ด้านบนเว็บ หรือพิมพ์ว่า google translate
4. Google maps อันนี้ เป็น แผนที่ประเทศไทย (มีทั้ง ไทย และ ประเทศอื่นๆ )
5. Google Gmail หรือ Google Mail เป็นบริการอีเมลล์ฟรีและมีขนาดพื้นที่เก็บเมลล์ใหญ่จุใจ
6. Google ทำให้เราสามารถสืบค้นข้อมูลได้ทุกอย่าง ทุกประเภท
7. Google จะเปลี่ยน logo ตามเทศกาล
8. Google ค้นหาภาพได้เยอะมากที่สุด
9. Google การหาแบบเฉพาะเจาะจง 55+ โดยการใช้ " " เช่น ถ้าเราต้องการค้นหาเกี่ยวกับโรงเรียนของเรา โรงเรียน"เลยพิทย์" เมื่อใช้เครื่องหมาย " " เราก็จะเจอแต่โรงเรียนนั้น
แหล่งที่มา
http://dek-d.com/board/view.php?id=1385834
http://www.daydev.com/seo/25-search-engine-optimize/78-google-searc-bar-performance.html

11/21/2009

ข้อคิดวันนี้

เพียงจ้องมองบันไดยังไม่พอ เราต้องก้าวขึ้นบันไดด้วย
It is not enough to start up the steps.
We must step up the stare.
จากการบรรยายของ อ.อภิชาติ วัชรพันธ์ 21/112552

คำคม ข้อคิด

คำคมจากท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์
1.จงเผชิญกับความจริงอย่างที่เป็นอยู่ มิใช่อย่างที่คุณอยากเป็น
2.จริงใจกับทุกคน
3.อย่าเป็นแค่นักบริหารแต่จงออกไปนำทัพ
4.จงเปลี่ยนแปลงก่อนที่เหตุการณ์จะบังคับให้ต้องเปลี่ยน
5.ถ้าท่านไม่มีจุดแข็ง หรือข้อได้เปรียบจงอย่าแข่งกับเขา
6.จงคุมชะตาด้วยตนเองมิฉะนั้น ผู้อื่นจะมาคุมแทน
แหล่งที่มา
http://zayyes.com/index.php?topic=1594.0

ท่ามกลางสายฝน

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2552
วันนี้มาเรียนท่ามสายฝน เปียก อีกแล้ว จาม ไอ มาถึงอาจารย์เข้าห้องสอนแล้ว ทุกคนสดชื่นแจ่มใส สนุกสนาน มีเกม เปลี่ยนบรรยากาศ มีการแนะนำชื่อกลุ่มต่างๆ เพื่อจะได้รู้จักกัน จากการเล่นเกมทำให้รู้ว่า"เมื่อโอกาสมาถึงต้องรีบคว้าไว้"